งานวิจัยตำรับสมุนไพรเคอร่ามีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์การขยายตัวของไวรัสโควิด 19 ชนิด main Pro และ RdRd ยับยั้งไวรัสเข้าสู่เซลล์และยับยั้งไวรัสFIVหรือโรคเอดส์แมว รวมทั้งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ

ข้อมูลของยาแคปซูล เคอร่า

KERRA เคอร่า

ข้อมูลของยาแคปซูล เคอร่า

ยาเคอร่า (KERRA) เป็นยาแผนโบราณชนิดแคปซูล ที่ผลิตโดย เวชกรโอสถ โรงงานผลิตยาที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GMP, ISO9001 และ HALAL ยาเคอร่าได้ผ่านการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ตามเลขทะเบียนที่ G 40/57 โดยใช้ชื่อว่า “ยาแคปซูล เคอร่า” ตัวยามีลักษณะเป็นผงสีดำ บรรจุในแคปซูล

ตำรับยาเคอร่า มีส่วนประกอบสำคัญเป็นสมุนไพรหลายชนิด ได้แก่ แก่นจันทน์แดง แก่นจันทน์ขาว หัวคล้า รากฟักข้าว รากมะนาว รากสะแก รากกระทุงหมาบ้า เถาย่านาง บอระเพ็ด และสมุนไพรอื่น ๆ

ทฤษฏีแพทย์แผนไทยกับโควิด19 และที่มาของยาเคอร่า

ดร.ภัทร์ หนังสือ แพทย์แผนไทยผู้ผลิตยาเคอร่า
แพทย์แผนไทยและผู้ผลิตยาสมุนไพรเคอร่า

History

ประวัติแพทย์แผนไทย และการใช้ยาแผนโบราณในทางการแพทย์

นักวิชาการเชื่อว่า การแพทย์แผนไทยแต่เดิมนั้นมีรากมาจากคัมภีร์พระเวท (Veda) ของชาวฮินดู ในอารยธรรมอินเดีย ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่า 2,500 ปีมาแล้ว และเน้นการรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยจารีตที่อิงกับศาสนาเป็นหลัก (1) ก่อนจะมีการค้นพบคัมภีร์อายุรเวท (Ayurveda) และคัมภีร์มหาวรรคในสมัยพุทธกาล ซึ่งเป็นศาสตร์การแพทย์แบบองค์รวมสำหรับการดูแล บำบัด และฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ ที่มีความเป็นเหตุเป็นผล ตรงตามหลักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันมากขึ้น หลังจากนั้นศาสตร์ความรู้ดังกล่าวก็ได้เผยแพร่มายังดินแดนต่างๆ เช่น ในจีนและเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นถิ่นที่ตั้งของประเทศไทยในปัจจุบันด้วย

ประวัติแพทย์แผนไทย
และการใช้ยาแผนโบราณในทางการแพทย์

มีหลักฐานพบว่าศาสตร์การแพทย์แบบอายุรเวทได้แพร่เข้ามายังอาณาจักรทวารวดี ซึ่งตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มตอนกลางของรัฐไทยในปัจจุบันราวพุทธศตวรรษที่ 12 ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม ได้มีการสร้างสถานพยาบาลที่มีชื่อเรียกว่า อโรคยาศาลา กว่า 100 แห่งกระจายอยู่ทั่วแถบภูมิภาคนี้ โดยอโรคยาศาลามีลักษณะคล้ายกับโรงพยาบาลในปัจจุบัน ที่ให้คนไข้เข้ามารับการรักษา มีผู้ทำหน้าที่แพทย์และพยาบาล และมีการแจกจ่ายอาหารและยาแก่ผู้ป่วย ซึ่งอาจนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของระบบการแพทย์ในประเทศไทย (2)

ปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งอาณาจักรอยุธยา ได้มีการตรา “ทำเนียบศักดินาข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน” ขึ้น และมีการแต่งตั้งข้าราชการในกรมแพทยา กรมหมอยา กรมหมอนวด กรมหมอวรรณโรค และกรมยาตรา เพื่อทำหน้าที่ต่างๆ ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก็มีการตั้งระบบจัดหายาและจำหน่ายยาที่ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อขายยาสมุนไพรได้ รวมถึงมีการจัดทำ “ตำราพระโอสถพระนารายณ์” ซึ่งเป็นบันทึกรวบรวมตำรับยาที่หมอในราชสำนักปรุงถวายกษัตริย์ในยุคนั้น ตามทฤษฎีในคัมภีร์การแพทย์โบราณด้วย (2)

ปลายพุทธศตวรรษที่ 20

ในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นยุคที่การแพทย์แผนไทยเฟื่องฟูขึ้นอย่างมาก โดยได้มีการรวบรวมคัมภีร์ จารึก และตำรับยาทางการแพทย์โบราณที่กระจัดกระจายมาชำระและเรียบเรียงใหม่ รวมถึงมีการจารึกตำราเหล่านี้ไว้บนแผ่นศิลา หรือภาพประดับตามสถานที่ต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไป เช่น รัชกาลที่ 3 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมมังคลาราม (วัดโพธิ์) และทรงให้จารึกตำรายากับวิธีบำบัดโรคไว้โดยรอบโบสถ์และเจดีย์ อีกทั้งให้ปั้นรูปฤาษีดัดตนท่าทางต่างๆ ไว้ภายในวัด นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้ง “วิทยาลัยการแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์” เพื่อให้ประชาชนได้นำความรู้ไปใช้รักษาตนเองอีกด้วย

ในสมัยรัตนโกสินทร์
ในสมัยรัตนโกสินทร์

เมื่อการแพทย์สมัยใหม่แบบตะวันตกเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงมีการแยกการแพทย์ในประเทศไทยออกเป็น 2 แผน ได้แก่ แพทย์แผนโบราณ และแพทย์แผนปัจจุบัน รวมทั้งมีการกำหนดบทบาทของข้าราชการในหน่วยงานทางการแพทย์ใหม่ โดยแบ่งออกเป็น ข้าราชการในกรมหมอ กรมหมอยา กรมหมอกุมาร กรมหมอนวด กรมหมอยาตา และกรมหมอฝรั่ง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียนแพทย์แห่งแรกขึ้นในปี พ.ศ. 2433 คือ ศิริราชพยาบาล ซึ่งมีการเรียนการสอนทั้งวิชาแพทย์แผนตะวันตกควบคู่ไปกับการแพทย์แผนไทย (3) ก่อนจะนำไปสู่การออก พ.ร.บ.การแพทย์ พ.ศ.2466 ซึ่งเป็น พ.ร.บ. ฉบับแรกที่แบ่งการประกอบโรคศิลปะออกเป็นแผนปัจจุบันและแผนโบราณ จากนั้น ในปี พ.ศ.2542 จึงมีการประกาศ พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะฉบับใหม่ ที่มีการแก้ไขสาระสำคัญหลายอย่าง และมีการเปลี่ยนชื่อจากการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณไปเป็นการแพทย์แผนไทย

เมื่อการแพทย์สมัยใหม่แบบตะวันตกเริ่มแพร่หลายมากขึ้น
เมื่อการแพทย์สมัยใหม่แบบตะวันตกเริ่มแพร่หลายมากขึ้น
เมื่อการแพทย์สมัยใหม่แบบตะวันตกเริ่มแพร่หลายมากขึ้น

การจัดตั้งสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับแพทย์แผนไทยโดยเฉพาะ เริ่มต้นใน พ.ศ.2498 โดยมีการก่อตั้งโรงเรียนแพทย์แผนโบราณขึ้นเป็นครั้งแรก จากนั้น ใน พ.ศ. 2524 จึงมีการจัดตั้งอายุรเวทวิทยาลัย ซึ่งเน้นการสอนวิชาแพทย์แผนโบราณและเวชกรรม ควบคู่ไปกับวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพตามแบบการแพทย์สมัยใหม่ ปัจจุบัน สถาบันการแพทย์แผนไทย สังกัดอยู่ในกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข โดยได้แบ่งการแพทย์แผนไทยออกเป็น 4 สาขา ได้แก่ เวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การผดุงครรภ์ไทย และการนวดไทย (4)

การจัดตั้งสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับแพทย์แผนไทยโดยเฉพาะ

มาตรฐานการผลิต

Properties

ส่วนประกอบ ในยาแคปซูล เคอร่า และสรรพคุณของส่วนประกอบ

ยาแผนโบราณ เคอร่า ประกอบด้วยสมุนไพรหลายชนิดบรรจุอยู่ในแคปซูล ได้แก่ แก่นจันทน์แดง แก่นจันทน์ขาว หัวคล้า หัวเต่ารั้ง หัวเต่าเกียด รากฟักข้าว รากมะนาว รากสะแก รากกระทุงหมาบ้า เถาย่านาง บอระเพ็ด โดยสรรพคุณของส่วนประกอบแต่ละตัว มีดังนี้

แก่นจันทน์แดง


แก่นจันทน์แดง

เป็นส่วนแก่นหรือเนื้อไม้ของต้นจันทน์แดง (Dracaena loureiroi Gagnep.) มีรสขมเย็น ฝาดเล็กน้อย แก่นมีสีแดงเนื่องจากมีเชื้อราลง มีฤทธิ์ช่วยดับร้อน แก้พิษไข้ แก้ตัวร้อน แก้ไอ ลดอาการกระสับกระส่าย ลดการอักเสบ ปวด บวม รวมถึงช่วยบำรุงหัวใจและการไหลเวียนเลือด (5)

แก่นจันทน์ขาว


แก่นจันทน์ขาว

เป็นแก่นของต้นจันทน์ขาว (Tarenna hoaensis Pit.) ซึ่งเนื้อไม้มีสีออกนวล มีรสขมเย็น อมหวาน มีฤทธิ์ช่วยแก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ บำรุงธาตุไฟ ช่วยให้สดชื่น ลดอาการอ่อนเพลีย หน้ามืด วิงเวียน คลื่นไส้ และมีส่วนช่วยบำรุงประสาท

หัวคล้า


หัวคล้า

หัวหรือเหง้าของต้นคล้า (Schumannianthus dichotomus (Roxb.) Gagnep.) มีรสเย็น มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ ลดพิษร้อนในร่างกาย และลดอาการอักเสบ ในสมัยโบราณจึงใช้เป็นยารักษาอาการไข้ต่างๆ ทั้งไข้หวัด ไข้หัด ไข้จับสั่น ไข้รากสาด รวมถึงฝีดาษ อีสุกอีใส และหัด

หัวเต่ารั้ง


หัวเต่ารั้ง

ต้นเต่ารั้ง หรือเต่าร้าง (Caryota mitis Lour.) เป็นพืชประเภทปาล์มที่ส่วนหัวอ่อนมีรสขมเย็นอมหวาน ใช้เป็นยาลดพิษไข้ แก้อาการหนาวสั่นหรือไข้จับสั่น แก้ช้ำใน สมานแผล บำรุงหัวใจ และบำรุงปอด

หัวเต่าเกียด


หัวเต่าเกียด

ส่วนหัวหรือเหง้าของต้นว่านเต่าเกียด (Homalomena aromatica (Spreng.) Schott) เป็นแหล่งของน้ำมันธรรมชาติซึ่งมีกลิ่นหอม มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทและอารมณ์ให้สดชื่น ช่วยลดอาการอ่อนล้า เซื่องซึม อีกทั้งยังมีสรรพคุณช่วยกำจัดเชื้อราและแก้โรคผิวหนังได้อีกด้วย (6)

รากฟักข้าว


รากฟักข้าว

ต้นฟักข้าว (Momordica cochinchinensis (Lour.) Spreng.) เป็นพืชวงศ์แตงชนิดหนึ่ง ที่ส่วนรากมีสรรพคุณช่วยถอนพิษไข้ ขับเสมหะ แก้อาการปวดเมื่อย รวมถึงยังช่วยเสริมภูมิคุ้มกันร่างกายให้ห่างไกลจากโรคติดเชื้อต่างๆ ได้ (9)

รากมะนาว


รากมะนาว

มีรสขื่นจืด อุดมด้วยสารอนุมูลอิสระ และมีฤทธิ์ในการแก้พิษไข้ ลดอาการปวดศีรษะ ลดอาการแสบร้อนทั้งในและนอกร่างกาย รักษาฝีพุพองอักเสบ รวมทั้งยังช่วยป้องกันและรักษาโรคนิ่วในไตและกระเพาะปัสสาวะได้

รากสะแก


รากสะแก

ส่วนรากของต้นสะแก หรือสะแกนา (Combretum quadrangulare Kurz.) เป็นสมุนไพรมีรสเมา และมีสรรพคุณช่วยแก้พิษไข้ ลดอาการเซื่องซึม ขจัดเสมหะ บำรุงน้ำเหลือง กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งนานาชนิด เช่น มะเร็งตับ (10) มะเร็งปอด เป็นต้น

รากกระทุงหมาบ้า


รากกระทุงหมาบ้า

ต้นกระทุงหมาบ้า หรือ ผักฮวนหมู (Dregea volubilis (L.f.) Benth. ex Hook.f.) เป็นไม้เลื้อยเถากลมชนิดหนึ่ง มีส่วนรากมีสรรพคุณช่วยในเรื่องการนอนหลับ อีกทั้งยังช่วยแก้ไข้หวัด ลดอาการไอจาม ขับเสมหะ แก้พิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ฝีอักเสบและลดพิษน้ำดีกำเริบได้

เถาย่านาง


เถาย่านาง

ย่านาง (Tiliacora triandra (Colebr.) Diels) เป็นไม้เถาเลื้อยที่มีรสขมจืด มีฤทธิ์ช่วยแก้ไข้ ทั้งไข้ป่า ไข้รากสาด ไข้เรื้อรัง ไข้กลับซ้ำ ไข้ทับระดู ไข้ออกตุ่มต่างๆ อีกทั้งช่วยแก้เมา ถอนพิษผิดสำแดง ขจัดเชื้อก่อโรค รักษาอาการปวด และลดอาการเซื่องซึมได้ดี

บอระเพ็ด


บอระเพ็ด

ส่วนใบ ลำต้น เถา และรากของต้นบอระเพ็ด (Tinospora crispa (L.) Hook. f. & Thomson) เป็นสมุนไพรที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ซึ่งมีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ชะลอวัย เสริมภูมิคุ้มกัน รวมทั้งช่วยดับพิษร้อน แก้ไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ และป้องกันโรคติดเชื้อได้ (11)

KERRA เคอร่า

สมุนไพรในยาแคปซูล เคอร่า ที่มีฤทธิ์ป้องกันและลดอาการไข้หวัด

หัวเต่ารั้ง

เต่ารั้ง หรือ เต่าร้าง (Caryota mitis Lour.) เป็นพืชในตระกูลปาล์มที่พบได้ทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยส่วนหัวอ่อนของเต่ารั้งนั้นอุดมด้วยสารกลุ่ม Phenolic หลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (12) ซึ่งสารดังกล่าวมีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันการบาดเจ็บเสียหายของเนื้อเยื่อและลดการอักเสบ อันเป็นที่มาของอาการไข้ ตัวร้อน และปวดเมื่อยตามร่างกาย

นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่ค้นพบว่า สารที่เกิดจากการตัดแต่งสังเคราะห์ระหว่าง profilin จากเต่ารั้ง กับ poly(lactic-co-glycolic acid) ซึ่งเรียกว่า Caryota mitis profilin (rCmP)-loaded PLGA nanoparticles ก็มีฤทธิ์ช่วยป้องกันอาการภูมิแพ้ หอบหืด และไอจามได้ โดยสารตัวดังกล่าวจะไปยับยั้งการสร้างแอนติบอดีชนิด IgE รวมถึงยับยั้งการหลั่งไซโตไคน์ชนิดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการแพ้ในร่างกายด้วย (13)

รากฟักข้าว

ฟักข้าว (Momordica cochinchinensis (Lour.) Spreng.) เป็นพืชวงศ์แตงที่เติบโตทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และถูกใช้เป็นยามาช้านาน เนื่องจากส่วนรากของฟักข้าวนั้นประกอบด้วยสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชมากกว่า 60 ชนิด ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการอักเสบ ต่อต้านอนุมูลอิสระ และต้านเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ (9) จากการศึกษาโดยสถาบันวิจัยการแพทย์แผนจีน ในประเทศไต้หวัน พบว่าสาร mocochinosides A และ B ซึ่งเป็นสารกลุ่ม triterpene glycosides ที่พบในรากฟักข้าว มีฤทธิ์ช่วยต่อต้านอาการอักเสบโดยไปยับยั้งการสร้าง NO จากเซลล์เม็ดเลือดขาวแมคโครฟาจ และยังสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม ได้อีกด้วย (17) สรรพคุณในการต้านการอักเสบดังกล่าว จึงน่าจะช่วยลดอาการไข้ ตัวร้อน ที่เกิดจากการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้เช่นเดียวกัน

เถาย่านาง

ส่วนเถาและใบของต้นย่านาง (Tiliacora triandra (Colebr.) Diels) อุดมด้วยสารประกอบฟีนอลหลายชนิดที่มีสรรพคุณโดดเด่นในการต่อต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการอักเสบในร่างกาย (18) ในขณะเดียวกัน ก็มีการศึกษาอีกมากมายที่พบว่าสารสกัดจากเถาย่านางมีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อจุลชีพต่างๆ ที่อาจก่อโรคในร่างกายได้ด้วย

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ได้เปรียบเทียบฤทธิ์ของสมุนไพรไทยชนิดต่างๆ ในการต่อต้านจุลชีพ และพบว่าสารสกัดจากเถาย่านางเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่สามารถยับยั้งเชื้อรา Candida albicans รวมถึงแบคทีเรียแกรมลบและแกรมบวกได้ดีที่สุด (19) และนอกเหนือจากนี้ งานวิจัยโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็พบเช่นกันว่าสารสกัดจากเถาย่านาง สามารถยับยั้งการติดเชื้อไวรัส PRRSV ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินหายใจในสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย (20) ซึ่งการพิสูจน์สรรพคุณดังกล่าวในคน อาจต้องอาศัยการศึกษาในขั้นต่อไป

บอระเพ็ด

บอระเพ็ด (Tinospora crispa (L.) Hook. f. & Thomson) เป็นสมุนไพรไทยสารพัดประโยชน์ที่มีสรรพคุณทางยาหลากหลายมาก ตั้งแต่ช่วยลดอาการไข้ ตัวร้อน อักเสบ ปวดเมื่อย ไข้มาลาเรีย ไปจนถึงการรักษาโรคอาการติดเชื้อและโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญ เนื่องจากในส่วนต่างๆ ของบอระเพ็ดนั้นประกอบด้วยสารที่สำคัญหลายชนิด เช่น สารกลุ่มอัลคาลอยด์ ฟลาโวนอยด์ และไกลโคไซด์ ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (11)

การศึกษาโดย Universiti Sains Malaysia ร่วมกับศูนย์วิจัยยาและสมุนไพร ประเทศมาเลเซีย พบว่าสารสกัดจากบอระเพ็ดสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภูมิคุ้มกันร่างกาย โดยการกระตุ้นการตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอม (Chemotaxis) และการจับกินเชื้อโรค (Phagocytosis) ของเซลล์แมคโครฟาจได้ (21) ทำให้ร่างกายสามารถจัดการกับเชื้อก่อโรคได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ บอระเพ็ดยังช่วยลดความรุนแรงของโรคไข้มาลาเรีย โดยมีงานวิจัยที่พบว่า สารสกัดบอระเพ็ดสามารถยับยั้งภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินในผู้ที่ติดเชื้อมาลาเรียชนิด Plasmodium berghei ได้ (22) จึงมีการคาดการณ์ว่า สรรพคุณในข้อนี้น่าจะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมาลาเรียขั้นรุนแรงได้เช่นกัน

Kerra

ที่มาของตำรับยาเคอร่า “ยาครอบไข้ตักกศิลา”

คัมภีร์คัมภีร์ตักกะศิลา

คัมภีร์คัมภีร์ตักกะศิลา เป็น 1 ใน 14 คัมภีร์ในตำราแพทย์แผนโบราณฉบับหลวง อันเกิดจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้คณะแพทย์หลวงรวบรวมตำราแพทย์แผนโบราณ ตำรายาพื้นบ้านจากแหล่งต่าง ๆ นำมาตรวจสอบชำระให้ตรงกัน เมื่อปี พ.ศ. 2413 ต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขและจัดพิมพ์ในปี พ.ศ. 2440 เพื่อให้ราษฎรที่ป่วยไข้สามารถเข้าถึงตำราได้เรียกตำรานี้ว่า แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ จัดพิมพ์สองเล่มจบ

กล่าวเฉพาะคัมภีร์ตักกะศิลา

กล่าวเฉพาะคัมภีร์ตักกะศิลา เริ่มต้นด้วยเรื่องโรคห่าลงเมืองตักกะศิลา ผู้คนอพยพหลบหนีออกจากเมืองจนกลายเป็นเมืองร้าง มีพระฤาษีองค์หนึ่งผ่านมาพบซากศพก่ายกองมากมายจึงทำพิธีชุบศพให้ฟื้นคืนแล้วสอบถามสาเหตุการตาย จึงทราบว่า

“บ้านเมืองเกิดความไข้เปนพิกลต่าง ๆ ลางคนไข้วัน 1 บ้าง 2 วันบ้าง 3 วันบ้าง 4 วันบ้างตาย ลางคนนอนลางคนนั่งนางคนยืนลางคนตะแคงลางคนหงายตาย เปนเหตุเพราะความตายอย่างนี้” พระฤาษีจึงได้แต่งพระคัมภีร์ขึ้นเพื่อป้องกันมิให้เกิดขึ้นอย่างเมืองตักกะศิลา

คัมภีร์ตักกะศิลา จึงเป็นตำราที่กล่าวถึงโรคระบาดที่ค่อนข้างร้ายแรง คนโบราณกล่าวว่าเหมือนห่าลง คือเมื่อมีการระบาดแล้วจะทำให้มีผู้คนตายอย่างรวดเร็ว ผู้เป็นโรคเหล่านี้แล้วรักษาให้หายยาก มีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก “...ถ้าผู้ใดจะเปนแพทย์ไปข้างน่า ให้เร่งตรึกตรองพิจารณาแก้ไขให้จงเลอียดจึงควร ถ้าแพทย์คนใดได้เรียนต่อครูจะแก้ได้สักส่วนหนึ่ง จะตายสักสามส่วน ถ้าแพทย์คนใดมิได้เรียนต่อครูรู้แต่ตำรา เปนโมหาคติ แก้ไม่ได้ ร้อยคนจะรอดสักคนหนึ่ง”

โรคระบาดหรือโรคร้ายตามคัมภีร์แบ่งออกเป็น ไข้พิษ ไข้เหนือ และไข้กาฬ โดยไข้พิษจะมีอาการตัวร้อนจัดประดุจเปลวไฟ ปวดศีรษะ ปากแห้ง น้ำลายเหนียว ร้อนใน กระหายน้ำ มือเท้าเย็น มีเม็ดขึ้นตามร่างกาย ไข้เหนือ หรือไข้ป่า หรือไข้จับสั่น มีอาการคือ มีไข้ หนาวสั่นสะท้าน สร่างไข้แล้วกลับเป็นอีก ปวดศีรษะ ท้องผูก ส่วนไข้กาฬ มีไข้สูง มีเม็ดแดง ๆ ในอวัยวะภายใน เช่น ลำไส้ ไต ปอด ม้าม มักตายใน 7 หรือ 11 วันเมื่อตายแล้วมีรอยไหม้เกรียมผุดเป็นแว่นเป็นวงขึ้นตามผิวหนัง

ซึ่งโรคไข้พิษไข้กาฬต่างๆ ที่กล่าวในคัมภีร์ตักศิลา มีดังนี้

ไข้พิษไข้กาฬ 21 จำพวก
ไข้รากสาด (ไข้กาฬ) 9 จำพวก
ไข้ประดง (ไข้กาฬแทรกไข้พิษ) 8 จำพวก
ไข้กาฬ 10 จำพวก
ฝีกาฬ 10 จำพวก
ไข้กระโดง 4 จำพวก
ฝีกาฬ 6 จำพวก
ไข้คดไข้แหงน 2 จำพวก
ไข้หวัด 2 จำพวก
ไข้กำเดา 2 จำพวก
ไข้ 3 ฤดู 3 จำพวก

KERRA เคอร่า

ลักษณะอาการของไข้พิษไข้กาฬ

ลักษณะการผุด เกิดขึ้นมาบางทีไม่เจ็บไข้ สบายอยู่เป็นปกติ ไข้เกิดภายใน ให้ผุดเป้นแผ่นเป็นเม็ดสีแดง สีดำ สีเขียวก็มี เป็นทรายทั่วทั้งตัวก็มี ผุดได้ 1 วัน 2 วัน 3 วัน จึงล้มไข้ และใน 1 วัน 2 วัน 3 วันนั้น ทำพิษต่างๆ ผุดขึ้นเป้นแผ่น เป็นวง เป็นเม็ดทรายขึ้นมามีสีแดง สีดำ สีเขียว สีคราม ทำให้รอดบ้าง ตายบ้าง ให้แพทย์ให้ยากระทุ้งพิษนั้นให้สิ้น ถ้ากระทุ้งพิษขึ้นไม่หมดกลับไปลงกินตับกินปอด ให้ถ่ายออกเป็นโลหิตเสมหะ บางทีให้ลงทางปัสสาวะ ให้ปิดปัสสาวะ บางทีให้อาเจียนเป็นโลหิต ให้ไอ บางทีให้ร้อนในกระหายน้ำ ให้หอบ ให้สะอึก ลิ้นกระด้าง คางแข็ง ให้ชักเหลือกตากลับ บางทีทำพิษให้จับหัวใจ ให้นอนกรนไปไม่มีสติสมปฤดี ให้จับกรนครอกๆ บางทีกระทำให้ปิตตะสมุฏฐานกำเริบ ให้เหลืองไปทั่วกาย ถ้าแพทย์รักษาดีก็จะรอด ถ้ารักษาไม่ดีก็จะตาย ให้ตรองให้จงหนัก พระผู้เป็นเจ้าจึงให้แพทย์พิจารณารักษาไข้พิษ ไข้เหนือ ให้ละเอียด ถ้าไม่รู้จักไข้เหนือ ไข้พิษ ห้ามไม่ให้ไปรักษาเขาเห็นแก่อามิสสินจ้าง โลภจะเอาทรัพย์เขา วางยาพิษเขาตายลงด้วยพิษยาของแพทย์ แพทย์นั้นจะตกในมหาอเวจีนรก ถ้าแพทย์ผู้ใดประกอบไปด้วยเมตตาจิต มีสติปัญญารักษาวางยาให้ถูกกับโรค แพทย์ผู้นั้นก็จะเจริญมีโภคทรัพย์มา มีอายุยืนนาน

การพิจารณารักษาไข้พิษไข้กาฬ การพิจารณารักษาไข้พิษไข้กาฬนั้นมีข้อห้ามดังนี้

1. ห้ามวางยารสร้อน
2. ห้ามวางยารสเผ็ด
3. ห้ามวางยารสเปรี้ยว
4. ห้ามประคบ
5. ห้ามรับประทานส้มมีผิวมีควัน ห้ามกะทิน้ำมัน
6. ห้ามปล่อยปลิง (ห้ามเอาโลหิตออก)
7. ห้ามถูกน้ำมัน
8. ห้ามถูกเหล้า
9. ห้ามกิน ห้ามอาบน้ำร้อน
10. ห้ามนวด

หมายเหตุ ถ้าไม่รู้กระทำผิดดังกล่าวมานี้ อาจเป็นอันตรายถึงตายได้

ยารักษาไข้พิษไข้กาฬ

ให้แพทย์ใช้ยากระทุ้งพิษให้สิ้น ถ้ากระทุ้งพิษไม่หมด ก็จะกลับลงไปกินตับกินปอด ให้ถ่ายออกมาเป็นโลหิตเสมหะ ทำพิษต่างๆ ถ้ารักษาดีก็มีโอกาสรอด ถ้ารักษาไม่ดีก็ตาย ดังนั้นแพทย์เมื่อจะกระทุ้งพิษให้ไข้พิษไข้กาฬออกมานั้น จะต้องใช้ยาชื่อ แก้ว 5 ดวง (ยา 5 ราก) และยาอื่นๆ ตามลำดับ ดังนี้

ขนานที่ 1 ยากระทุ้งพิษ (ยาแก้ว 5 ดวง) มีดังนี้
  • 1) รากชิงชี่
  • 2) รากย่านาง
  • 3) รากคนทา
  • 4) รากเท้ายายม่อม
  • 5) รากมะเดื่อชุมพร

ยาทั้งนี้ เอาสิ่งละเสมอภาคกัน ต้มให้รับประทานครั้งละ 2-3 ช้อนโต๊ะ ห่างกันประมาณ 3 ชั่วโมงต่อครั้ง สรรพคุณ กระทุ้งพิษ

ขนานที่ 2 (ยาประสะผิวภายนอก) มีดังนี้
  • 1) ใบย่านาง
  • 2) ใบมะขาม
  • 3) เถาวัลย์เปรียง

ยาทั้งนี้ เอาหนักสิ่งละเสมอภาค บดแทรกดินประสิว ละลายน้ำซาวข้าวพ่น ถ้าไมดีขึ้น กระทำพิษให้ตัวร้อนเป็นเปลว ถ้าตัวร้อนจัดให้แต่งยาพ่นซัำอีก

ขนานที่ 3 (ยาพ่นภายนอก) มีดังนี้
  • 1) เถาขี้กาแดง เอาทั้งใบ และราก
  • 2) เถาย่านาง เอาทั้งใบ และราก
  • 3) รากฟักข้าว

ยาทั้งนี้ เอาหนักสิ่งละเสมอภาค บกแทรกแทรกดินประสิวพอควร ละลายน้ำซาวข้าว ทั้งให้กินและพ่นภายนอก เมื่อใช้ยาดังกล่าวแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น ให้ใช้ยาขนานต่อไป ดังนี้

ขนานที่ 4 ยาพ่น และยากิน มีดังนี้
  • 1) ใบทองหลางใบมน
  • 2) เปลือกทองหลางใบมน
  • 3) ข้าวสาร

ยาทั้งนี้ เอาหนักสิ่ละเสมอภาค บดแทรกดินประสิว ทั้งกินทั้งพ่น เมื่อได้ใช้ยากินกระทุ้งภายใน และภายนอกแล้ว ก็ให้ต้มยากินรักษาภายในอีกด้วย ดังต่อไปนี้

ขนานที่ 5 ยาแปรไข้ มีดังนี้
  • 1) ใบมะยม
  • 2) ใบมะนาว
  • 3) หญ้าแพรก
  • 4) ใบมะกรูด
  • 5) ใบมะตูม
  • 6) หญ้าปากควาย
  • 7) ใบคนทีสอ
  • 8) ใบหมากผู้
  • 9) ขมิ้นอ้อย
  • 10) ใบมะเฟือง
  • 11) ใบหมากเมีย

ยาทั้งนี้ หนักสิ่งละเสมอภาค บดละลายน้ำซาวข้าว รับประทานแปรไข้จากร้ายให้เป็นดี นอกจากยารับประทานแปรไข้ภายในแล้ว ยังมียาพ่นแปรพิษภายนอกอีก คือ

ขนานที่ 6 ยาพ่นแปรผิวภายนอก มีดังนี้
  • 1) รังหมาร่าที่ค้างแรมปี
  • 2) หญ้าแพรก
  • 3) หญ้าปากควาย
  • 4) ใบมะเฟือง

ยาทั้งนี้ หนักสิ่งละเสมอภาค บดปั้นเป็นเม็ด เอาน้ำซาวข้าวเป็นกระสาย พ่นเพียง 3 ครั้งเท่านั้น เมื่อได้รักษาเป็นระยะมาแล้ว อาการไม่ดีขึ้นตามลำดับ ก็ควรให้กินยารักษาไข้เฉพาะ เรียกว่า ยาครอบไข้ตักศิลา มีดังนี้

  • 1) จันทน์แดง
  • 2) ง้วนหมู
  • 3) ใบผักหวานบ้าน
  • 4) กระลำพัก
  • 5) หัวคล้า
  • 6) รากฟักข้าว
  • 7) กฤษณา
  • 8) ใบสวาด
  • 9) รากจิงจ้อ
  • 10) ใบมะนาว
  • 11) จันทน์ขาว
  • 12) รากสะแก
  • 13) เถาย่านาง
  • 14) ขอนดอก

ยาทั้งนี้ หนักสิ่งละเสมอภาค บดแทรกพิมเสนพอควร ใช้น้ำซาวข้าวเป็นกระสาย รับประทานเป็นยารักษาภายใน รับประทานเป็นประจำจนกว่าจะหาย (24)

จากตำรับยาครอบไข้ตักกศิลานี้เอง จึงเป็นที่มาของตำรับยาสมุนไพร “เคอร่า”

ตำรับยาครอบไข้ตักกศิลา

ตำรับยาครอบไข้ตักกศิลา จากคัมภีร์เวชศาสตร์วรรณา “แต่งยาครอบไข้ สารพัดแก้ได้ ไข้ตักกสิลา จันทร์แดงจันทร์ขาว ใบสวาดหัวคล้า ง้อนหมูคงคง สะแกจงจำ ฟักข้าวข้าไหม้ ผักหวานบ้านไซ้ พิมเสนแทรกนำ หญ้านางมะนาว สูเจ้าจงจำ เสมอภาคเอาน้ำ ซาวข้าวละลาย เป็นยาภายใน กินประจำไข้ กว่าจะถอยคลาย ระวังแต่กาฬ จะเกิดมากมาย ทั้งหญิงทั้งชาย อย่าได้ไว้ใจ”

เอกสารอ้างอิง

1.

Zysk KG. Medicine in the Veda: Religious Healing in the Veda: Motilal Banarsidass Publishe; 1998.

2.

และการแพทย์ทางเลือก รดก. ประวัติศาสตร์การพัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกในประเทศไทย. p. https://www.hiso.or.th.

3.

ตันติปิฎก ย. การแพทย์ไทย: วาทกรรมสร้างรัฐชาติ วิทยาศาสตร์ และภูมิปัญญา. โครงการศึกษาความหลากหลายของวัฒนธรรมสุขภาพในสังคมไทย ทุนสนับสนุนจากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). 2546.

4.

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. ประวัติและตราสัญลักษณ์. p. https://www.dtam.moph.go.th.

5.

Sun J, Liu JN, Fan B, Chen XN, Pang DR, Zheng J, et al. Phenolic constituents, pharmacological activities, quality control, and metabolism of Dracaena species: A review. J Ethnopharmacol. 2019;244:112138.

6.

Policegoudra RS, Goswami S, Aradhya SM, Chatterjee S, Datta S, Sivaswamy R, et al. Bioactive constituents of Homalomena aromatica essential oil and its antifungal activity against dermatophytes and yeasts. J Mycol Med. 2012;22(1):83-7.

7.

Ruangnoo S, Jaiaree N, Makchuchit S, Panthong S, Thongdeeying P, Itharat A. An in vitro inhibitory effect on RAW 264.7 cells by anti-inflammatory compounds from Smilax corbularia Kunth. Asian Pac J Allergy Immunol. 2012;30(4):268-74.

8.

Hua S, Zhang Y, Liu J, Dong L, Huang J, Lin D, et al. Ethnomedicine, Phytochemistry and Pharmacology of Smilax glabra: An Important Traditional Chinese Medicine. Am J Chin Med. 2018;46(2):261-97.

9.

Lan HY, Zhao B, Shen YL, Li XQ, Wang SJ, Zhang LJ, et al. Phytochemistry, Pharmacological Activities, Toxicity and Clinical Application of Momordica cochinchinensis. Curr Pharm Des. 2019;25(6):715-28.

10.

Banskota AH, Tezuka Y, Adnyana IK, Xiong Q, Hase K, Tran KQ, et al. Hepatoprotective effect of Combretum quadrangulare and its constituents. Biol Pharm Bull. 2000;23(4):456-60.

11.

Ahmad W, Jantan I, Bukhari SN. Tinospora crispa (L.) Hook. f. & Thomson: A Review of Its Ethnobotanical, Phytochemical, and Pharmacological Aspects. Front Pharmacol. 2016;7:59.

12.

Fu L, Xu BT, Xu XR, Qin XS, Gan RY, Li HB. Antioxidant capacities and total phenolic contents of 56 wild fruits from South China. Molecules. 2010;15(12):8602-17.

13.

Xiao X, Zeng X, Zhang X, Ma L, Liu X, Yu H, et al. Effects of Caryota mitis profilin-loaded PLGA nanoparticles in a murine model of allergic asthma. Int J Nanomedicine. 2013;8:4553-62.

14.

Tewtrakul S, Itharat A, Rattanasuwan P. Anti-HIV-1 protease- and HIV-1 integrase activities of Thai medicinal plants known as Hua-Khao-Yen. J Ethnopharmacol. 2006;105(1-2):312-5.

15.

Lu CL, Zhu W, Wang M, Xu XJ, Lu CJ. Antioxidant and Anti-Inflammatory Activities of Phenolic-Enriched Extracts of Smilax glabra. Evid Based Complement Alternat Med. 2014;2014:910438.

16.

Xu S, Shang MY, Liu GX, Xu F, Wang X, Shou CC, et al. Chemical constituents from the rhizomes of Smilax glabra and their antimicrobial activity. Molecules. 2013;18(5):5265-87.

17.

Huang HT, Lin YC, Zhang LJ, Liaw CC, Chen HY, Hsueh MT, et al. Anti-Inflammatory and anti-proliferative oleanane-type triterpene glycosides from the vine of Momordica cochinchinensis. Nat Prod Res. 2019:1-8.

18.

Singthong J, Oonsivilai R, Oonmetta-Aree J, Ningsanond S. Bioactive compounds and encapsulation of Yanang (Tiliacora triandra) leaves. Afr J Tradit Complement Altern Med. 2014;11(3):76-84.

19.

Nuaeissara S, Kondo S, Itharat A. Antimicrobial activity of the extracts from Benchalokawichian remedy and its components. J Med Assoc Thai. 2011;94 Suppl 7:S172-7.

20.

Arjin C, Pringproa K, Hongsibsong S, Ruksiriwanich W, Seel-Audom M, Mekchay S, et al. In vitro screening antiviral activity of Thai medicinal plants against porcine reproductive and respiratory syndrome virus. BMC Vet Res. 2020;16(1):102.

21.

Ahmad W, Jantan I, Kumolosasi E, Haque MA, Bukhari SNA. Immunomodulatory effects of Tinospora crispa extract and its major compounds on the immune functions of RAW 264.7 macrophages. Int Immunopharmacol. 2018;60:141-51.

22.

Ounjaijean S, Chachiyo S, Somsak V. Hypoglycemia induced by Plasmodium berghei infection is prevented by treatment with Tinospora crispa stem extract. Parasitol Int. 2019;68(1):57-9.

23.

กระทรวงสาธารณสุข. กรมวิชาการ. ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : ภูมิปัญญาทางการแพทย์

24.

และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ. กรุงเทพฯ : ๒๕๔๒, ๑,๐๑๐ หน้า.

25.

กระทรวงสาธารณสุข. กรมวิชาการ. ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : ภูมิปัญญาทางการแพทย์

26.

และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ. กรุงเทพฯ : ๒๕๔๒, ๑,๐๑๐ หน้า

covid 19

งานวิจัยความก้าวหน้าด้านสมุนไพร ในการต้านโควิด 19 ล่าสุด

การวิจัยพบว่าสารสกัดจากพืชสมุนไพรกว่า 450 ชนิด มีประสิทธิภาพในการยับยั้งไวรัสในหลายกลไก เช่น ยับยั้งการสร้างโปรตีนส่วนประกอบของไวรัสโควิด 19, ยับยั้งเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการ replication ของไวรัส

งานวิจัยความก้าวหน้าด้านสมุนไพร ในการต้านโควิด 19 ล่าสุด
งานวิจัยความก้าวหน้าด้านสมุนไพร ในการต้านโควิด 19 ล่าสุด

covid 19

เมื่อร่างกายติดเชื้อโควิด 19

เมื่อร่างกายติดเชื้อโควิด 19 จะส่งผลให้ระบบภูมิต้านทานร่างกาย เช่น แมคโครฟาจ และเดนไดรติค เซลล์ ผลิตสารไซโตไคน์ และ ROS คืออนุมูลอิสระเข้าสู่กระแสเลือด อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจะทำลายเม็ดเลือดแดงให้แตกตัว กลายเป็น Heme และ Free iron ซึ่งจะจับตัวกับอนุมูลอิสระ แล้วจับกับ plasma fibrinogen กลายเป็นลิ่มเลือดที่อาจเข้าไปอุดตันระบบการไหลเวียนของร่างกาย

ดังนั้นกลไกการทำลายร่างกายของเชื้อไวรัส โควิด19 ในระดับอนุภาคก็คือการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างอนุมูลอิสระจำนวนมหาศาลแล้วเกิดการทำลายร่างกายจากอนุมูลอิสระนั้นเอง ดังนั้นการที่สารสกัดสมุนไพรหลายชนิด มีฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระ หากมีประสิทธิภาพมากพอก็จะสามารถยับยั้งการทำลายร่างกายจากการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ไม่ให้มีอาการหนักขึ้น หรือลุกลามจนเสียชีวิต

เมื่อร่างกายติดเชื้อโควิด 19
เมื่อร่างกายติดเชื้อโควิด 19
บอระเพ็ด มีฤทธิ์ยับยั้งอาการแพ้
บอระเพ็ด มีฤทธิ์ยับยั้งอาการแพ้

อาการข้างเคียงของการฉีดวัคซีน

อาการข้างเคียงของการฉีดวัคซีน

อาการข้างเคียงชนิดไม่รุนแรง เช่น


  • ปวด บวม แดง ร้อน คัน บริเวณที่ฉีด
  • ไข้ต่ำ
  • ปวดศีรษะ
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • อ่อนเพลีย

อาการข้างเคียงชนิดรุนแรง ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด หรือโทร 1669 เช่น


  • ไข้สูง
  • ใจสั่น
  • หนาวสั่น
  • แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก
  • ปวดศีรษะรุนแรง
  • หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • มีจุดเลือดออกจำนวนมาก
  • ผื่นขึ้นทั้งตัว ตุ่มน้ำพอง
  • บวม เช่น หน้าบวม คอบวม บวมทั่วร่างกาย
  • อาเจียนไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง
  • ท้องเสีย
  • ชัก
  • หมดสติ
  • ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อรุนแรง
แก่นจันทน์แดง
ย่านางแดง
สะแกนา

ยาเคอร่าไม่มีสารสเตอรอยด์

ผลการวิเคราะห์ยา เคอร่า โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบว่า ยาเคอร่าไม่มีส่วนประกอบของสาร ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

การวิจัย - kerra ยาเคอร่า
การวิจัย - kerra ยาเคอร่า
การวิจัย - kerra ยาเคอร่า
การวิจัย - kerra ยาเคอร่า
การวิจัย - kerra ยาเคอร่า
การวิจัย - kerra ยาเคอร่า
การวิจัย - kerra ยาเคอร่า
การวิจัย - kerra ยาเคอร่า
การวิจัย - kerra ยาเคอร่า
การวิจัย - kerra ยาเคอร่า
การวิจัย - kerra ยาเคอร่า
การวิจัย - kerra ยาเคอร่า
การวิจัย - kerra ยาเคอร่า
การวิจัย - kerra ยาเคอร่า
การวิจัย - kerra ยาเคอร่า
การวิจัย - kerra ยาเคอร่า
การวิจัย - kerra ยาเคอร่า
gmp 2021 - kerra ยาเคอร่า
RdRp-ของ-Kerra - kerra ยาเคอร่า
RdRp-ของ-Kerra - kerra ยาเคอร่า
RdRp-ของ-Kerra - kerra ยาเคอร่า
RdRp-ของ-Kerra - kerra ยาเคอร่า
ทะเบียนยาเคอร่า ENG - kerra ยาเคอร่า
ทะเบียนยาเคอร่า ENG - kerra ยาเคอร่า
ใบอนุญาตผลิต ENG - kerra ยาเคอร่า
รายงานผลการทดสอบ Acute toxicity test - kerra ยาเคอร่า
รายงานผลการทดสอบ Acute toxicity test - kerra ยาเคอร่า
รายงานผลการทดสอบ Acute toxicity test - kerra ยาเคอร่า
รายงานผลการทดสอบ Acute toxicity test - kerra ยาเคอร่า
รายงานผลการทดสอบ Acute toxicity test - kerra ยาเคอร่า
รายงานผลการทดสอบ แร่ธาตุ - kerra ยาเคอร่า
หนังสือรับรองฮาลาลนนท์ ENG-1 - kerra ยาเคอร่า
หนังสือรับรองฮาลาลนนท์ ENG-2 - kerra ยาเคอร่า
ใบรับรองผลการวิเคราะห์ - kerra ยาเคอร่า
ใบรับรองผลการวิเคราะห์-2 - kerra ยาเคอร่า
ผลของยาเคอร่าในการป้องกันการติดเชื้อและการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ตลอดจนการยับยั้งผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 และความปลอดภัย

อ่านเพิ่มเติม

งานวิจัยล่าสุด สมุนไพรต้านมะเร็ง งานวิจัยตำรับสมุนไพรเคอร่ายับยั้งมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนังมะเร็งตับ และมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กที่กลายพันธุ์และดื้อยา เปรียบเทียบกับยาเคมีบำบัดและยามุ่ง เป้า Doxorubicin และ Afatinib ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร WSEAS Transactions on Biology and Biomedicine, Volume 21, 2024

การวิจัยพบกลไกของสมุนไพร เคอร่า มีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และเหนี่ยวนำให้เกิดการตายแบบ Apoptosis รวมทั้งการปรับสมดุลการแสดงออกของยีน ยับยั้งการแสดงออกของยีนที่ก่อมะเร็ง กระตุ้นการแสดงออกของยีนยับยั้งมะเร็งให้เพิ่มขึ้น

ผลวิจัยยาสมุนไพร KS,KERRA,MINOZA มีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งปากมดลูก และมีฤทธิ์ป้องกันไวรัส hpv เข้าสู่เซลล์

ผลการใช้สมุนไพร กับผู้ป่วย

ติดโควิดดูแลตัวเองที่บ้าน หาย!!

คุณบอล อายุ 40 ปี ติดโควิดแต่หายแบบไม่มีอาการ

โรคประจำตัว
  • เคยเป็นไขมันเกาะตับ
  • เคยอ้วนแต่ทำ IF ตอนนี้ลดน้ำหนักลงแล้ว

ไทม์ไลน์การรักษาผู้ป่วย
  • 8 เมษายน 2564 ทราบข่าวว่าพี่ที่ทำงานติดเชื้อโควิด
  • 9 เมษายน 2564 ไปตรวจเชื้อที่ รพ.
  • 10 เมษายน 2564 11.00 น.ทราบผลว่าตัวเองติดเชื้อ แต่ยังไม่มีอาการใด ๆ ซึ่งทาง รพ.แจ้งว่าไม่มีห้อง แนะนำให้กักตัวที่บ้าน
  • 10-16 เมษายน 2564 กักตัวในบ้านตามคำแนะนำ ทานยา วิตามินซี ซิงค์ กระชาย ฟ้าทะลายโจร พาราเซตามอลในช่วงมีไข้ ยาแก้เจ็บคอ ทำการรักษาตัวเองตามอาการ รอห้องพักจาก รพ.
  • 16 เมษายน 2564 เข้าพักรักษาตัวที่ รพ. ยังไม่มีอาการใด ๆ
  • 17 เมษายน 2564 ได้รับยาเคอร่า และเริ่มรับประทานยาเคอร่าครั้งละ 2 แคปซูลก่อนอาหาร เริ่มทานมื้อแรกเที่ยงวันที่ 17 เมษายน 2564 และรับประทานตลอดจนออกจาก รพ. รู้สึกว่าทานยาเคอร่าแล้วช่วยฆ่าเชื้อในลำคอ ทำให้โล่งคอและอาการไม่ลุกลาม
  • 17-24 เมษายน 2564 พักรักษาตัวที่ รพ. ไม่มีอาการใด ๆ แพทย์ไม่ได้ให้ยาใด ๆ นอกจากแก้เจ็บคอเล็กน้อย ระหว่างนี้อาการปกติ ไม่มีอาการ รอกลับบ้าน
  • 24 เมษายน 2564 ออกจาก รพ กลับบ้าน ผลตรวจเป็นลบ

# เป็นบันทึกการใช้ยาและการรักษาโดยแพทย์แผนไทย

# ผู้ป่วยอนุญาตให้นำภาพและเสียงสัมภาษณ์เผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม

# ติดเชื้อโควิดรักษาฟรี

** ภารกิจหยุดเชื้อเพื่อชาติ **

ศูนย์ข้อมูลสมุนไพรต้านโควิด

Line : @herbline
Facebook : KERRA
โทรศัพท์ : 099-2458080

ติดโควิดกักตัวอยู่บ้าน หายแล้ว!!

คุณวิว ติดโควิดแต่หายแบบไม่มีอาการ

ไม่มีโรคประจำตัว

ไทม์ไลน์การรักษาผู้ป่วย
  • วันที่ 5 เมษายน 2564 เริ่มมีไข้ในตอนกลางคืน ตัวรุม ๆ
  • วันที่ 6 เมษายน 2564 เริ่มมีอาการ มีไข้ขึ้น ๆ ลง ๆ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ท้องเสีย คิดว่าตัวเองติดเชื้อ เนื่องจากในบ้านมีสามีติดเชื้อ มีอาการระหว่างวันที่ 6-13 อาการเป็นตลอด ที่บ้านมีลูกเล็กอายุ 4 ขวบ
  • วันที่ 8 เมษายน 2564 เข้ารับการตรวจเชื้อ (Swab)
  • วันที่ 9 เมษายน 2564 ได้รับแจ้งผลว่าไม่ติดเชื้อโควิด 19
  • วันที่ 13 เมษายน 2564 ไปตรวจเชื้อรอบที่สอง
  • วันที่ 15 เมษายน 2564 รับแจ้งว่าติดเชื้อ แต่ไม่ได้เข้ารับการรักษาที่ รพ.เนื่องจากไม่มีเตียง
  • วันที่ 15 เมษายน 2564 ได้รับยาเคอร่า ตอนนั้นรู้สึกอาการดีขึ้นแล้ว มีแค่น้ำมูกนิดหน่อย ทานยาเคอร่าประมาณ 2 วัน เช้า 2 แคปซูล ก่อนนอน 2 แคปซูล พอเริ่มทานยาเคอร่า อาการทุกอย่างก็ดีขึ้น น้ำมูกหาย โดยทานเป็นแคปซูลแบบกลืนเลย คุณวิวคิดว่าถ้าทานยาเคอร่าตั้งแต่เริ่มติดเชื้อหรือเริ่มมีอาการก็น่าจะดีกว่า
  • วันที่ 17 เมษายน 2564 อาการทุกอย่างหายเป็นปกติ
  • คุณวิวได้ประยุกต์การใช้สมุนไพรโดย ใช้ผสมน้ำทาตัวบุตร อายุ 4 ขวบ ที่มีอาการเป็นไข้ปรากฏว่าไข้ลด
  • คุณวิวเป็นลมพิษ ใช้ยาเคอร่าผสมน้ำทาลมพิษ พบว่ายุบลง

# เป็นบันทึกการใช้ยาและการรักษาโดยแพทย์แผนไทย

# ผู้ป่วยอนุญาตให้นำภาพและเสียงสัมภาษณ์เผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม

# ติดเชื้อโควิดรักษาฟรี

** ภารกิจหยุดเชื้อเพื่อชาติ **

ศูนย์ข้อมูลสมุนไพรต้านโควิด

Line : @herbline
Facebook : KERRA
โทรศัพท์ : 099-2458080

ติดโควิดรักษาตัวเองหายแบบง่ายๆ

คุณนัท ติดโควิดรักษาตัวเอง


ไทม์ไลน์การรักษาผู้ป่วย
  • วันที่ 7 เมษายน 2564 เริ่มมีไข้ ตัวรุม ๆ มีไข้เล็กน้อย ปวดเมื่อยเนื้อตัว
  • วันที่ 8 เมษายน 2564 อาการเริ่มมากขึ้น ตัวร้อน ปวดเมื่อยมากขึ้น ไปตรวจเชื้อ รพ.คิดว่าตัวเองติดเชื้อ หมอที่ รพ.ให้ยาพารา และยาแก้ปวดเมื่อย
  • วันที่ 9 เมษายน 2564 พักผ่อนอยู่บ้าน
  • วันที่ 10 เมษายน 2564 ได้รับแจ้งผลว่าไม่ติดเชื้อโควิด 19 ก็พักผ่อนอยู่บ้านช่วงนี้
  • วันที่ 13 เมษายน 2564 ไปตรวจเชื้อรอบที่สอง
  • วันที่ 15 เมษายน 2564 รับแจ้งว่าติดเชื้อ แต่ รพ.แจ้งว่ายังไม่มีห้องว่าง แนะนำให้กักตัวในบ้าน ก็พักผ่อนอยู่บ้าน และได้รับยาเคอร่าในวันนี้ เริ่มทานครั้งละ 2 แคปซูล เช้า กลางวัน เย็น 6 แคปซูลต่อวัน ทานยาเคอร่าแล้วรู้สึกอาการปวดเมื่อยลดลง รู้สึกสดชื่นมากขึ้น ไม่เพลีย รู้สึกว่าอาการติดเชื้อดีขึ้น ไม่ค่อยรู้สึกว่ามีอาการป่วยอะไรและรู้สึกร่างกายเป็นปกติขึ้นหลังจากทานยาเคอร่า
  • วันที่ 15-20 พักผ่อนอยู่บ้าน อาการหายเป็นปกติ ระหว่างนี้มีอาการคันตามเนื้อตัว และเจ็บหน้าอกเล็กน้อย แต่ก็หายไปเอง ได้ทานยาเคอร่าต่อเนื่องทุกวัน

# เป็นบันทึกการใช้ยาและการรักษาโดยแพทย์แผนไทย

# ผู้ป่วยอนุญาตให้นำภาพและเสียงสัมภาษณ์เผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม

# ติดเชื้อโควิดรักษาฟรี

** ภารกิจหยุดเชื้อเพื่อชาติ **

ศูนย์ข้อมูลสมุนไพรต้านโควิด

Line : @herbline
Facebook : KERRA
โทรศัพท์ : 099-2458080

โรคประจำตัวเพียบ โควิดลงปอด

คุณเอ๋ อายุ 50 ปี โควิดลงปอด

โรคประจำตัว
  • ภูมิแพ้
  • เบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • ไขมันในหลอดเลือดสูง
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด เคยผ่าตัดทำบอลลูน

ไทม์ไลน์การรักษาผู้ป่วย
  • วันที่ 4 เมษายน 2564 เริ่มมีอาการ มีไข้ต่ำ ๆ ปวดเมื่อยตัว
  • วันที่ 6 เมษายน 2564 เข้ารับการตรวจเชื้อ (Swab)
  • วันที่ 7 เมษายน 2564 ได้รับแจ้งผลว่าติดเชื้อโควิด 19
  • วันที่ 8 เมษายน 2564 เข้ารับการรักษาตัวที่ รพ.
  • วันที่ 11 เมษายน 2564 แพทย์พบว่าปอดเริ่มมีจุด แพทย์ให้ยา favipiravir และยาลดไข้ตามอาการ
  • วันที่ 11-13 เมษายน 2564 อาการแย่ลงเรื่อย ๆ หายใจติดขัด เริ่มหอบเหนื่อยมากขึ้น
  • วันที่ 14 เมษายน 2564 อาการแย่ลง หายใจหอบเหนื่อย พูดคุยโทรศัพท์ไม่ได้ อ่อนเพลียไม่มีแรง นอนทั้งวัน ผลเอ็กซเรย์ปอดเป็นฝ้าขาวทั่วปอด อาการหนักขึ้นมาก แต่ช่วงบ่าย ได้รับยาเคอร่าและเริ่มรับประทานครั้งละ 2 แคปซูล โดยเคี้ยวเม็ดยาแตกก่อนกลืน ตอนบ่ายและก่อนนอน จำนวน 2 มื้อ และทานต่อเนื่องอีก 5 วัน วันละ 4 มื้อ ก่อนอาหารและก่อนนอนทุกวัน หลังจากนี้
  • วันที่ 15 เมษายน 2564 อาการดีขึ้น ช่วงบ่ายรู้สึกว่าตัวเองหายแล้ว
  • วันที่ 16-18 เมษายน 2564 อาการปกติ หายป่วย รอออกจากรพ. แต่ทานยาเคอร่าปกติ
  • วันที่ 18 เมษายน 2564 ผลเอ็กซเรย์ปอดกลับเป็นปกติ ฝ้าขาวหายไป
  • วันที่ 20 เมษายน 2564 ออกจากโรงพยาบาลกลับบ้าน อาการปกติ แข็งแรงดี วิ่งได้ ขี่จักรยาน ออกกำลังกายได้

# เป็นบันทึกการใช้ยาและการรักษาโดยแพทย์แผนไทย

# ผู้ป่วยอนุญาตให้นำภาพและเสียงสัมภาษณ์เผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม

# ติดเชื้อโควิดรักษาฟรี

** ภารกิจหยุดเชื้อเพื่อชาติ **

ศูนย์ข้อมูลสมุนไพรต้านโควิด

Line : @herbline
Facebook : KERRA
โทรศัพท์ : 099-2458080

คุณศิลป์ (บุตรชายคุณเอ๋) อายุ 24 ปี

ไม่มีโรคประจำตัว

ไทม์ไลน์การรักษาผู้ป่วย
  • วันที่ 27 เมษายน 2564 เริ่มเข้ามาพักอาศัยในบ้านคุณพ่อ ซึ่งในบ้านเคยมีคุณพ่อ ภรรยาคุณพ่อ และแม่บ้าน ซึ่งติดเชื้อโควิด และเพิ่งจะรักษาหายมาได้ไม่กี่วัน
  • วันที่ 30 เมษายน 2564 (วันศุกร์) ตื่นมาตอนตีสอง เริ่มมีอาการไข้ ไข้ขึ้น 39 C ปวดเมื่อยตามตัว ปวดหัว หนักหัว คิดว่าตัวเองมีโอกาสติดเชื้อ เพราะในบ้านเคยมีผู้ติดเชื้ออาจมีเชื้อหลงเหลือติดตามภาชนะอุปกรณ์ในบ้าน ทำให้ติดเชื้อได้
  • วันที่ 30 เมษายน 2564 (วันศุกร์) ได้เริ่มทานยาเคอร่า ตอนเช้า 3 แคปซูล ตอนเย็น 3 แคปซูล โดยกลืนเม็ดยา ไม่ได้เคี้ยว ทานตั้งแต่วันศุกร์ ถึงวันจันทร์ วันนี้เข้านอนแต่หัวค่ำ พอตื่นมาประมาณห้าทุ่มรู้สึกว่าอาการดีขึ้น ไข้ลดลง อาการปวดหัว และปวดเมื่อยเนื้อตัวเบาลง พอตอนเช้าวันเสาร์อาการทุกอย่างก็หายเป็นปกติ ได้ทานยาเคอร่าต่อถึงวันอาทิตย์ตอนเย็น ก็เป็นปกติตลอด ไม่มีอาการใดเพิ่มเติม
  • วันที่ 30 เมษายน 2564 ไปตรวจที่ รพ. ไม่พบเชื้อโควิด
  • วันที่ 3 พฤษภาคม 2564 ไปตรวจรอบสอง ไม่พบเชื้อ
  • วันที่ 3-14 พฤษภาคม 2564 กักตัวอยู่บ้าน ไม่มีอาการผิดปกติ

# เป็นบันทึกการใช้ยาและการรักษาโดยแพทย์แผนไทย

# ผู้ป่วยอนุญาตให้นำภาพและเสียงสัมภาษณ์เผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม

# ติดเชื้อโควิดรักษาฟรี

** ภารกิจหยุดเชื้อเพื่อชาติ **

ศูนย์ข้อมูลสมุนไพรต้านโควิด

Line : @herbline
Facebook : KERRA
โทรศัพท์ : 099-2458080

ติดโควิดสองรอบ ใช้สมุนไพรรักษา

คุณเอก อายุ 42 ปี อาชีพพนักงานไอที ติดโควิดรอบสอง รักษาตัวเองอย่างไร

โรคประจำตัว
  • ภูมิแพ้

ไทม์ไลน์การรักษาผู้ป่วย
  • เคยติดโควิดในเดือนมกราคม 2564 แต่รักษาหายแล้ว
  • วันที่ 8 เมษายน 2564 ได้ทราบว่าเพื่อนติดเชื้อ จึงไปตรวจที่ รพ. พบว่าติดเชื้อ เริ่มกักตัวอยู่บ้าน
  • วันที่ 8-12 เมษายน 2564 กักตัวอยู่บ้าน
  • วันที่ 11 เมษายน 2564 อาการเริ่มมากขึ้น ตัวร้อน ไข้ 39 องศา มีอาการไอ หายใจไม่เต็มปอด ถ้าหายใจเต็มปอดจะไอทันที เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว ค่าออกซิเจนลดเหลือ 94
  • วันที่ 14 เมษายน 2564 ขับรถไปตรวจเองที่ รพ แจ้งแพทย์ว่าสัมผัสผู้ติดเชื้อและเป็นกลุ่มเสี่ยงและมีอาการ แพทย์ทำการเอ็กซเรย์ปอด พบว่าปกติ แพทย์จ่ายยาแก้ไอ พาราเซตามอล ยังมีไข้ 38 C
  • วันที่ 15 เมษายน 2564 ได้รับแจ้งผลว่าติดเชื้อโควิด 19 แต่ รพ.แจ้งว่ายังไม่มีห้องว่าง แนะนำให้กักตัวในบ้าน ก็พักผ่อนอยู่บ้าน
  • วันที่ 15-18 เมษายน 2564 กักตัวอยู่บ้าน มีไข้ตลอด ขึ้น ๆ ลง ๆ 37-37.5 หรือสูงกว่า แต่ไม่ต่ำกว่านี้
  • วันที่ 18 เมษายน 2564 ได้รับยาเคอร่า เริ่มทานครั้งละ 2 แคปซูล เช้า กลางวัน เย็น 6 แคปซูลต่อวัน โดยแกะผงยาอมก่อนกลืน ตอนเริ่มทานยาเคอร่า ยังมีอาการไอ และหายใจติดขัด ทานยาเคอร่าแล้วรู้สึกว่าอาการไอหายไป รู้สึกชุ่มคอ และไข้หายไป อุณหภูมิกลับมาอยู่ที่ 36.5 ไม่มีไข้อีกเลยหลังทานยาเคอร่า
  • วันที่ 20 เมษายน 2564 เริ่มหายใจได้สุดปอดแล้วไม่มีปัญหาไออีก รู้สึกการทำงานปอดกลับเป็นปกติขึ้น การหายใจดีขึ้นชัดเจน
  • วันที่ 21 อาการทั้งหมดหายไป เข้าใจว่าตัวเองหายแล้ว อุณหภูมิปกติ ค่าออกซิเจนกลับมาปกติที่ 97 กักตัวต่อที่บ้าน
  • วันที่ 2 พฤษภาคม 2564 แพทย์ตามไปเอ็กซเรย์ปอด พบว่าปกติ ไม่มีอาการใด ๆ แพทย์แจ้งว่าหายแล้ว
  • หลังจากวันที่ 2 พฤษภาคม 2564 ทานยาเคอร่าต่ออีกประมาณ 5 วัน ไม่มีอาการใด ๆ
  • ความรู้สึกผู้ป่วย เมื่อทานยาเคอร่าตามวิธีแล้วดื่มน้ำอุ่นตาม รู้สึกว่าชุ่มคอ อาการไอหายไป ร่างกายสดชื่นขึ้น หายใจได้เต็มปอด เข้าใจว่ายาเคอร่าช่วยฆ่าเชื้อไวรัส ทำให้หายป่วยเร็วและอาการไม่ลุกลาม

# เป็นบันทึกการใช้ยาและการรักษาโดยแพทย์แผนไทย

# ผู้ป่วยอนุญาตให้นำภาพและเสียงสัมภาษณ์เผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม

# ติดเชื้อโควิดรักษาฟรี

** ภารกิจหยุดเชื้อเพื่อชาติ **

ศูนย์ข้อมูลสมุนไพรต้านโควิด

Line : @herbline
Facebook : KERRA
โทรศัพท์ : 099-2458080

อายุ 83 โรคประจำตัวเพียบ ติดโควิด!

คุณสมเกียรติ อายุ 83 ปี อาชีพ ข้าราชการบำนาญ ติดโควิดแต่หายแบบไม่มีอาการ

โรคประจำตัว
  • โรคหัวใจ
  • โรคเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • มะเร็งลำใส้
  • เคยผ่าตัด
  • โลหิตจาง

ไทม์ไลน์การรักษาผู้ป่วย
  • วันที่ 10 เมษายน 2564 ไปตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด เพราะสัมผัสผู้ป่วย
  • วันที่ 11 เมษายน 2564 รพ.แจ้งว่าติดเชื้อ ให้เข้ารักษาตัวใน รพ. ช่วงนี้รู้สึกตัวรุม ๆ เล็กน้อย แต่ยังไม่มีอาการเพิ่มเติม
  • วันที่ 11-14 เมษายน 2564 พักรักษาตัวใน รพ. มีอาการไข้รุม ๆเล็กน้อย ไม่มีอาการอื่น
  • วันที่ 14 เมษายน 2564 ได้รับยาเคอร่า เริ่มทานเช้า 4 แคปซูล เย็น 4 แคปซูล สองวันต่อมา ลดเหลือมื้อละ 2 เม็ด ทานไปได้ 3 วัน พบว่าอาการของร่างกายปกติมากขึ้น คล่องตัวขึ้น สังเกตุปัสสาวะ พบว่าปัสสาวะใสขึ้น เหลืองเข้มขึ้นกว่าปกติ คิดว่ายาเคอร่าทำให้ปัสสาวะใส แต่สีเข้มขึ้น จึงลดยาเคอร่าลง เหลือเช้า 4 แคปซูล เย็น 2 แคปซูล พบว่าปัสสาวะกลับเป็นปกติ โดยทานยาเบาหวาน หัวใจ ไต วิตามินซี และยาเคอร่า ทานร่วมกันตามเวลาในแต่ละวัน
  • วิธีการรับประทานทานยาเคอร่า ทานทั้งแคปซูล และเอาแคปซูลยาเคอร่าใส่แก้วน้ำอุ่น 4-5 นาที ให้เม็ดยาละลายเป็นสีดำ พอทานแล้วจะชุ่มคอ รู้สึกสดชื่น
  • 14-26 เมษายน 2564 ได้รับประทานยาเคอร่าต่อเนื่องจนครบกำหนดกักตัวใน รพ. ระหว่างนี้ไม่มีอาการ
  • 26 เมษายน 2564 ครบกำหนดกักตัว ตรวจไม่พบเชื้อ กลับบ้าน

# เป็นบันทึกการใช้ยาและการรักษาโดยแพทย์แผนไทย

# ผู้ป่วยอนุญาตให้นำภาพและเสียงสัมภาษณ์เผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม

# ติดเชื้อโควิดรักษาฟรี

** ภารกิจหยุดเชื้อเพื่อชาติ **

ศูนย์ข้อมูลสมุนไพรต้านโควิด

Line : @herbline
Facebook : KERRA
โทรศัพท์ : 099-2458080

แพทย์แผนไทย รักษาโควิดฟรี

พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง แพทย์ทางเลือก ประกาศรักษาโควิด19

แพทย์แผนไทยไม่ทน !

ใครเป็นโควิดรักษาฟรี

พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี แพทย์ทางเลือก และประธานมูลนิธิมงคล-จงกล ธูปกระจ่าง ประกาศรักษาผู้ป่วยโควิดฟรีด้วยยาสมุนไพร

ติดต่อได้ที่มูลนิธิ มงคล-จงกล ธูปกระจ่าง และไลน์แอด @herbline เพื่อขอรับการตรวจรักษาและจ่ายยาแบบทางไกล (new normal) จากแพทย์แผ่นไทย เพื่อให้ทันท่วงทีต่อการรักษาในระยะเริ่มแรก โดยใช้ควบคู่กับการรักษาของแพทย์สนามหรือแพทย์แผนปัจจุบัน แจ้งชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ พร้อมส่งผลยืนยันการติดเชื้อผ่านไลน์ @herbline หรือ Facebook “ยาเคอร่า”


# เป็นบันทึกการใช้ยาและการรักษาโดยแพทย์แผนไทย

# ผู้ป่วยอนุญาตให้นำภาพและเสียงสัมภาษณ์เผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม

# ติดเชื้อโควิดรักษาฟรี

** ภารกิจหยุดเชื้อเพื่อชาติ **

ศูนย์ข้อมูลสมุนไพรต้านโควิด

Line : @herbline
Facebook : KERRA
โทรศัพท์ : 099-2458080

ในบ้าน6 คนติดโควิด 5 คน แต่รอดเพราะอะไร

คุณเจี๊ยบ อายุ 47 ปี ติดโควิด

คุณเจี๊ยบ อายุ 47 ปี อาชีพ ค้าขาย
มีคนในครอบครัวทั้งหมด 6 คน พบว่า 5 คนติดโควิดทั้งหมดยกเว้นตัวคุณเจี้ยบ

ไทม์ไลน์การรักษาผู้ป่วย
  • 20 เมษายน 2564 น้องสาว (โรคประจำตัว ธาลัสซีเมีย) เริ่มมีอาการไม่สบาย ไข้สูง ปวดตัว ไม่มีแรง แต่นอนป่วยอยู่บ้านโดยที่คุณเจี๊ยบเป็นคนดูแล เช็ดตัว ป้อนอาหาร โดยคุณเจี๊ยบไม่ทราบว่าน้องสาวติดเชื้อ
  • 4 พฤษภาคม 2564 น้องสาวไปตรวจโควิดที่ รพ. (Swab)
  • 4 พฤษภาคม 2564 รพ.แจ้งว่าน้องสาวติดเชื้อ ผลเป็นบวก จึงได้ขับรถส่วนตัวไปส่งน้องสาวที่รพ. พร้อมกับมารดา ไปกัน 3 คน
  • 5 พฤษภาคม 2564 คุณเจี๊ยบไปตรวจเชื้อโควิดรอบแรก พบว่าผลเป็นลบ
  • 7 พฤษภาคม 2564 ได้รับยาเคอร่า และเริ่มรับประทานวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 เม็ด แบบแกะแคปซูลเทตัวยาใส่ปาก ทานมาทุกวันต่อเนื่อง
  • 8 พฤษภาคม 2564 มารดาไปตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด และมีอาการไข้ ไอ เจ็บหน้าอก
  • 8 พฤษภาคม 2564 ไปตรวจเชื้อโควิดรอบสอง พบว่าไม่ติดเชื้อ และไม่มีอาการ

คุณเจี้ยบให้ความเห็นว่า การทานยาเคอร่าช่วยตนไม่ให้ติดเชื้อโควิด ทั้งที่น่าจะติดเชื้อ เนื่องจากตนสัมผัสกับผู้ป่วยโควิดโดยตรงและทุกคนในบ้านติดหมด มีแต่ตัวเองไม่ติดเชื้ออยู่คนเดียว (คนในครอบครัวไม่มีใครได้ทานยาเคอรร่า)


# เป็นบันทึกการใช้ยาและการรักษาโดยแพทย์แผนไทย

# ผู้ป่วยอนุญาตให้นำภาพและเสียงสัมภาษณ์เผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม

# ติดเชื้อโควิดรักษาฟรี

** ภารกิจหยุดเชื้อเพื่อชาติ **

ศูนย์ข้อมูลสมุนไพรต้านโควิด

Line : @herbline
Facebook : KERRA
โทรศัพท์ : 099-2458080

โควิดลงปอดเป็นฝ้า แต่หาย

คุณสง อายุ 47 ปี ติดโควิดลงปอด

ไทม์ไลน์การรักษาผู้ป่วย
  • 1 พฤษภาคม 2564 เริ่มมีอาการไข้ต่ำ ๆ ปวดเมื่อยตามร่างกายเนื้อตัว จึงไปรพ. ทำการตรวจเชื้อ (Swab) ได้ยาลดไข้ paracetamol, amoxiclav มาทาน
  • 2 พฤษภาคม 2564 ยังคงมีไข้รุม ๆ จึงไปตรวจโควิดเพราะคนแถวบ้านติดเชื้อด้วย แล้วมาคุยกับแฟน ทำให้แฟนติดเชื้อ แฟนทราบว่าติดเชื้อวันที่ 2 แล้วรถ รพ.มารับไปเข้ารับการรักษา
  • 3 พฤษภาคม 2564 ได้รับทราบผลว่าติดเชื้อโควิด จึงได้เริ่มทานยาเคอร่าในช่วงบ่าย โดยทานก่อนอาหารและก่อนนอน ครั้งละ 1 แคปซูล โดยแกะแคปซูลเทใส่ปาก แล้วช่วงค่ำ ๆ ก็ได้เข้ารับการรักษาตัวที่ รพ. วันนี้รู้สึกว่าอาการไข้หายแล้ว
  • 4 พฤษภาคม 2564 แพทย์ทำการ x-rays พบฝ้าขาวในปอดเล็กน้อย หมอจึงให้ยา Favipiravir เป็นเวลา 5 วัน ระหว่างนี้ทานยาเคอร่าควบคู่กับการรักษาตลอดทุกวัน วันละ 4 มื้อ ก่อนอาหารและก่อนนอนเช่นเดิม ส่วนอาการไข้ต่ำ ๆและปวดเมื่อยเนื้อตัว รู้สึกว่าดีขึ้น
  • 5 พฤษภาคม 2564 รู้สึกอาการเป็นปกติ
  • 7 พฤษภาคม 2564 x-rays ปอดอีกครั้งพบว่าฝ้าหายไป
  • 12 พฤษภาคม 2564 x-rays ปอด พบว่าปกติดี
  • 16 พฤษภาคม 2564 แพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน

หลังจากกลับบ้านก็ยังทานยาเคอร่าทุกวัน และไม่มีอาการผิดปกติใดๆ คุณสงเข้าใจว่าการทานยาเคอร่าช่วยให้ ช่วยให้ไข้ลดลง กำจัดเชื้อไวรัสไม่ให้ลุกลามมากขึ้น และทำให้สบายใจมากขึ้นในระหว่างรับการรักษา


# เป็นบันทึกการใช้ยาและการรักษาโดยแพทย์แผนไทย

# ผู้ป่วยอนุญาตให้นำภาพและเสียงสัมภาษณ์เผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม

# ติดเชื้อโควิดรักษาฟรี

** ภารกิจหยุดเชื้อเพื่อชาติ **

ศูนย์ข้อมูลสมุนไพรต้านโควิด

Line : @herbline
Facebook : KERRA
โทรศัพท์ : 099-2458080

คนไข้งูสวัด หลังรับประทานยาเคอร่าและและแคปซูลผสมน้ำสะอาดทาแผล อาการจะเริ่มดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหลังใช้ยาจากผลของการยับยั้งการขยายตัวของไวรัส

คุณสมบัติของสมุนไพรในการยับยั้ง Covid-19


อ่านเพิ่มเติม