KERRA เคอร่า คืออะไร

เคอร่า ชื่อเต็ม “ยาแคปซูลเคอร่า” เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรขายทั่วไป ได้รับการขึ้นทะเบียนจากคณะกรรมการอาหารและยา เลขทะเบียนที่ G40/57 ผลิตโดย เวชกรโอสถ สถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้รับอนุญาต ตามมาตรฐาน ISO9001, GHP, HALAL ที่ตั้ง เลขที่ 121 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 099-2458080

เคอร่า มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

ยาแคปซูลเคอร่า มีส่วนประกอบจากสมุนไพร 9 ชนิด ประกอบด้วย แก่นจันทน์แดง แก่นจันทน์ขาว หัวคล้า รากฟักข้าว รากมะนาว รากสะแก รากย่านาง บอระเพ็ด และรากกระทุงหมาบ้า

เคอร่า มีสรรพคุณอะไรบ้าง

มีสรรพคุณแก้ไข้

ขนาดรับประทานยาเคอร่า

ข้อกําหนดของ อย.ที่อนุญาตในการขึ้นทะเบียนของยาตํารับสมุนไพร แคปซูลเคอร่า คือ รับประทานครั้งละ 2-3 แคปซูล (500 มิลลิกรัมต่อแคปซูล) ก่อนอาหารเช้า กลางวัน เย็นและก่อนนอน (ขนาดและวิธีการใช้ แสดงบนฉลากเอกสารกํากับยาของผลิตภัณฑ์)

หากมีอาการไข้สูง ให้รับประทาน 2 แคปซูลทุก 2 ชั่วโมง (ยกเว้นช่วงนอนหลับ)

ข้อควรระวังในการรับประทานยาเคอร่า

หากใช้ติดต่อกัน 5 วันแล้วไม่หาย หรือมีอาการรุนแรงขึ้นระหว่างใช้ยา ควรหยุดใช้และพบแพทย์

อาการข้างเคียง
  • 1. บางรายอาจมีอาการถ่ายท้อง คล้ายท้องเสีย ให้หยุดยาหรือลดปริมาณลง
  • 2. หากมีอาการผื่นขึ้น คล้ายลมพิษ หรือบวมที่เปลือกตา ริมฝีปาก ให้หยุดยาแล้วปรึกษาแพทย์
ข้อควรระวัง
  • 1. หากรับประทานเพื่อแก้ไข้ ไม่ควรดื่มน้ำเย็น, น้ำผลไม้รสเปรี้ยวเช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว น้ำอัดลมและชา กาแฟในระหว่างที่ป่วย
  • 2. ผู้ที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด ควรใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะอาจเพิ่มฤทธิ์ของยา
ข้อแนะนำการใช้
  • 1. เพื่อให้ได้ผลดีขึ้น ควรเคี้ยวเม็ดยาให้แตกในลำคอก่อนดื่มน้ำตาม เพื่อลดเชื้อในทางเดินหายใจและทำความสะอาดต่อมทอนซิลซึ่งส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันที่ดี
  • 2. เด็กเล็กให้แกะแคปซูลผสมยา 1 แคปซูลกับน้ำผึ้งเท่า ๆ กัน ตักให้รับประทานผ่านลำคอ
งานวิจัยของเคอร่า
  • 1. งานวิจัยการยับยั้งการขยายตัวของไวรัสโควิด 19 ด้วยกลไกการยับยั้งเอนไซม์ขยายตัวไวรัสคือ main Pro และ RdRp (ภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • 2. งานวิจัยฤทธิ์ฆ่าไวรัสโควิด 19
  • 3. งานวิจัยฤทธิ์ป้องกันโคโรน่าไวรัสเข้าสู่เซลล์ (ภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • 4. งานวิจัยฤทธิ์ยับยั้งไวรัสโรคมือเท้าปาก Human enteroviruses
  • 5. งานวิจัยฤทธิ์ยับยั้งไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ A (H1N1) (ภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • 6. งานวิจัยฤทธิ์ยับยั้งไวรัสไข้เลือดออก (Dengue) (ภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • 7. งานวิจัยฤทธิ์ยับยั้งไวรัส HIV และ HIV ที่กลายพันธ์จากการดื้อยา (ภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • 8. งานวิจัยฤทธิ์ยับยั้งไวรัสเริม Herpes Simplex virus
  • 9. งานวิจัยฤทธิ์ยับยั้งไวรัสเอดส์แมว Feline Immunodeficiency Virus (FIV) (ภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • 10. งานวิจัยฤทธิ์ยับยั้งยีนส์ก่อมะเร็ง egfr-wt (ภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • 11. งานวิจัยฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งตับ, ลำใส้ใหญ่, เต้านม, มดลูก, ปอด (ภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • 12. งานวิจัยฤทธิ์ยับยั้งไวรัสก่อมะเร็งปากมดลูก HPV16, HPV18 (ภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • 13. งานวิจัยฤทธิ์ลดระดับของอนุมูลอิสระในระดับเซลล์ (ภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • 14. งานวิจัยฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบ (ภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • 15. งานวิจัยฤทธิ์ลดความดันโลหิต โดยการยับยั้งเอนไซม์ ACE (ภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • 16. งานวิจัยฤทธิ์เพิ่มการเผาผลาญน้ำตาลในระดับเซลล์ (ภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • 17. การศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์ตับและเซลล์ไต (ภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • 18. ผลการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันในสัตว์ทดลอง (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์)
  • 19. งานวิจัย Phase 1 ศึกษาความเป็นพิษของยาเคอร่าในอาสาสมัครสุขภาพดี (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)
  • 20. งานวิจัยผลของยาเคอร่าต่อลักษณะอาการของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 จำนวน 2510 ราย ในโรงพยาบาลประชาธิปัตย์
เข้าถึงงานวิจัย https://www.kerraherb.com/research